วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพิ่มผลผลิตในองค์การ

การเพิ่มผลผลิตในองค์การ

          การเพิ่มผลผลิตในองค์การที่สำคัญ คือ กระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต คือ นโยบายของรัฐ ทรัพยากรที่ใช้ รวมทั้งค่านิยมสังคม การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นองค์การต้องผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการด้วยขั้นตอนและวิธีควบคุมการผลิต การสร้างคุณค่าแลพะความเชื่อถือที่สร้างความพอใจให้กับลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มผลผลิตโยรวมขององค์การในที่สุด

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต       

          สภาพแวดล้อมภายนอก (External Factor) เกี่ยวข้องโดยตรงส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของการผลิตองค์การต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการสภาพการณ์แข่งขันของธุรกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเพิ่มผลผลิตองค์การที่มีการดำเนินงานลักษณะซับซ้อนบางองค์การได้กำหนดแผนกวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค

อนาคตปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญ

     1. นโยบายของรัฐ (Policies) หมายถึง แนวทางที่รัฐกำหนดขอบเขตครอบคลุมถึงเป้าหมายของรัฐในการที่จะเร่งรัดพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง การจ้างงานบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรมและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐได้กำหนด ดังนั้นรัฐจะต้องกำหนดนโยบายส่งเสริมและการกระทำอย่างต่อเนื่องในเรื่องต่างๆ ดังนี้
             1.1 การวางแผนโดยรวมการใช้สาธารณูปโภค ความคงที่ในเรื่องราคาและฐานภาษี
          1.2 การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเพื่อการทดแทนการนำเข้า
          1.3 การเปลี่ยนแปลงแบบแผนความต้องการภายในประเทศ
          1.4 ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการแข่งขันอย่างเสรี
          1.5 การสร้างความเจริญก้าวหน้า จะต้องควบคู่ไปกับการศึกษา และการรักษาสภาพแวดล้อม

     2. ทรัพยากรที่ใช้ (Resources) หมายถึง ทรัพยากรทั้งหลายที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น ได้แก่
          2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
          2.2 ทรัพยากรบุคคล (Human Resources) คือ ความสามารถของกำลังคนในสังคม
          2.3 ทรัพยากรทางด้านการเงิน
          2.4 เทคโนโลยีทางด้านการผลิต
          2.5 การจัดองค์การและการบริหารงานด้านการผลิต

     3.ค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม จะรวมถึงจริยธรรมในการทำงานและทัศนคติของบุคคลเช่น ค่านิยมส่วนบุคคล (Individual Values) และทัศนคติของคนในสังคมที่เรียกว่า ค่านิยมของสังคม ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น


องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต

          การผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ตาม กิจการจะเจริญเติบโตได้ก็ต่อเมื่อองค์การสามารถเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการค้าการเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณภาพสินค้าและบริการที่ลูกค้าพึงพอใจตรงตามความต้อกงต้องการ การผลิตจะต้องผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำและส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันเวลาพนักงานต้องมีความปลอดภัยและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการทำงานการผลิตต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรวมทั้งผู้ประกอบการต้องมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ คือ Q C D S M E E

องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต

     QCD เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อลูกค้า คือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด การควบคุมคุณภาพการผลิต การจัดส่งที่ตรงเวลา เพื่อความมั่นใจให้กับลูกค้า

   SM เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อประโยชน์ของพนักงาน คือ ทำอย่างไรให้พนักงานเกิดความรู้สึกปลอดภัยในขณะทำงานและเกิดขวัญกำลังใจในการผลิต

EE เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อสังคม คือ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานจากสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เคยมีให้หมดไป เป็นการเพิ่มผลผลิตโดยรวมของชาติบนพื้นฐานคุณธรรมและความยั่งยืน

ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต

          การควบคุมการผลิต (Production Control) คือกิจกรรมกำกับดูแลให้การทำงานเป็นไปตามกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามแบบผลิตในเวลาอันสั้นและได้ปริมาณมากที่สุดผลิตภัณฑ์มีการบกพร่องน้อยที่สุดกิจกรรมการควบคุมการผลิตเริ่มตั้งแต่ปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลิต จนสำเร็จออกมาเป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ดังแสดงไว้ในแผนภูมิ

สืบค้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560
ขอบคุณ http://toorsicc.blogspot.com/p/8_14.html

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักการบริหารคุณภาพในองค์กร png

หลักการบริหารคุณภาพองค์กร

          การบริหารงาน เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ประกอบด้วย นโยบายและวุตถุประสงค์เชิงคุณภาพ การจัดการด้านโครงสร้าง หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน โดยมีเป้าหมายให้เกิดคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีความสัมพันอย่างยิ่งกับต้นทุนการผลิต การลดต้นทุนอย่างถูกวิธีจึงถูกนำมาใช้ในการบริหารงานคุณภาพเพื่อความได้เปรียบขององค์การที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคงขององค์การในที่สุด

ความหมายของการบริหาร

           มีสองคำที่ใช้ในความหมายเดียวกัน คือ คำว่า การบริหาร (Administration) และการจัดการ (Management) การบริหาร ใช้ในการบริหารระดับสูง หน้าที่เน้นหนักที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) เป็นคำที่นิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public administration) เน้นการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่ได้วางไว้) นิยมใช้สำหรับการจัดการธุรกิจ
นอกจากนั้นได้มีผู้ให้คำนิยามหรือความหมายของคำว่า การบริหารไว้ ดังนี้

การบริหาร คือ ศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ
การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมซึ่งพิจารณาได้เป็น 3 ทาง คือ
     1. ทางโครงสร้าง เป็นความสำพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของสายการบังคัญบัญชา
     2. ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
     3. ทางปฏิบัติการ เป็นกระบวนการบริหารดำเนินการในสถานการณ์ที่บุคลต่อบุคคลกำลังมีปฏิสัมพันธ์หรือร่วมทำปฏิกิริยาเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
การบริหาร คือการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยคน เงิน วัตถุสิ่งของเป็นปัจจัยในการบฏิบัติงาน
กล่าวโดยสรุป การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมของบุคคลที่ทำหน้าที่การวางแผน
การจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน สั่งการ และควบคุมการทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานปัจจัยในการผลิต

องค์ประกอบของการบริหาร (Management Component)

          การบริหารงานทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ จำเป้นต้องใช้ปัจจัยและทรัพยากรพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตการบริหารจะมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
     1. เป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์การ ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนด
ทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานได้อย่างชัดเจน
     2. ปัจจัยการบริหาร (Factor of Management) ที่สำคัญได้แก่
               1. คน (Man)
               2. เงิน ( Money)
               3. วัสดุ (Material)
               4. เทคนิควิธี ( Method)
               5. เครื่องจักร (Machine)
          ปัจจัยการบริหารต้องคำนึงถึงผลหลายๆ ด้านดังนั้นนักบริหารจึงให้ความสำคัญกับการตลาด(Marketing) และถือว่าเป็นปัจจัยการบริหารอีกตัวหนึ่งก็ได้
      3. ลักษณะของการบริหาร (Management Style) การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ
กระบวนการบริหาร

          ลูเธอร์ กลูวิลค์ ( Luther Gulick ) ได้จำแนกหน้าที่ของการบริหาร(Function of management) ที่เรียกว่า การบริหารแบบ Posdcore Model มีรายละเอียดดังนี้
P = Planning การวางแผน หมายถึง การจัดวางโครงการและแผนการปฎิบัติงานขององค์การไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทำอะไรบ้างและทำอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
O = Organizing การจัดองค์การ หมายถึง การกำหนดโครงสร้างขององค์การ การแบ่งส่วนงาน การจัดสายงาน การกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของงานต่างๆ อย่างชัดเจน
S = Staffing การจัดตัวบุคคล หมายถึง การบริหารงานบุคคลในด้านต่างๆ ขององค์การ ได้แก่ การวิเคราะห์อัตรากำลัง การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การพัฒนาบุคคล การบำรุงรักษาบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
D = Directing การอำนวยการ หมายถึง การวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารองค์การ ในการตัดสินใจ การควบคุมบังคับบัญชาและควบคุมการปฎิบัติงาน
Co = Co-ordinating การประสานงาน หมายถึง การติดต่อประสานงานที่เชื่อมโยงงานของทุกคน ทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้งานดำเนินไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
R = Reporting การรายงาน หมายถึง การรายงานผลการปฎิบัติงานของหน่วยงานให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้ทราบความเคลื่อนไหวและความเป็นไปของหน่วยงาน
B = Budgeting การงบประมาณ หมายถึง การจัดทำงบประมาณ การทำบัญชี การใช้จ่ายเงินและการควบคุมตรวจสอบด้านการเงินและทรัพย์สินขององค์การ

องค์การคุณภาพ

          องค์การคุณภาพเกิดจากการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทุกคนขององค์การเลือกรับเอาคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของงานและเป็นวัฒนธรรมขององค์การด้วย ถึงแม้ว่าองค์การยังไม่มีปัญหา ธุรกิจจะดำเนินไปด้วยดีและความผิดพลาดมีน้อยก็ตามแต่องค์การก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพและจะต้องพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่าคู่แข่งขัน สิ่งที่ผลักดันให้ทุกองค์การต้องเข้าสู่คุณภาพ คือ
                1. ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ลูกค้าเป็นผู้ที่มีอำนาจการซื้อและมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการจากผู้ผลิตหรือผู้ขายรายใดรายก็ได้ ปัจจุบันข่าวสาร ข้อมูลมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ลูกค้ามีรสนิยมและความทันสมัยมากขึ้น การผลิตสินค้าที่ด้อยคุณภาพก็เสื่อมสภาพความต้องการอย่างรวดเร็ว ดังนั้นลูกค้าจึงเป็นผู้กำหนดการผลิตขององค์การที่จะต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่บริษทของผู้ผลิตเป็นผู้ตัดสินใจได้อีกต่อไปสินค้าที่คุณภาพลูกค้าจะเป็นผู้ชี้ขาด ความพอใจของลูกค้า คือ เหตุผลที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อหรือใช้บริการ ถ้าองค์การไม่สามารถผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า องค์การก็ขายสินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
                2. ลดต้นทุน ( Cost Reduction ) การลดต้นทุนการผลิตซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนและรวดเร็วนั้น คือการลดการสูญเสียต่างๆ ในกระบวนการผลิต ถ้าองค์การผู้ผลิต ผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพโดยที่ไม่มีของเสียก็จะทำให้การผลิตต่ำและไม่ต้องมีการแก้ไขงาน( Rework ) หรือสูญเสียวัตถุดิบไปในการผลิต การผลิตสินค้าและการบริการจึงควรทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกหรือที่เรียกว่า “ Do it Right Firth Time “ การผลิตสินค้าที่มีข้อบกพร่องไม่ได้คุณภาพ ผลก็คือ
     2.1 เสียเวลาและแรงงานที่ใช้ไปในการผลิต ทำให้สูญเสียต้นทุน
     2.2 เสียเวลาและแรงงานในการแก้ไขสินค้าและผลิตภัณฑ์ ที่ต้องนำมาแก้ไขใหม่โดยไม่จำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
     2.3 การผลิตสินค้าที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการ จะต้องนำกลับเข้ากระบวนการการผลิตใหม่อีกครั้ง
     2.4 สินค้ามีตำนิ ถ้านำไปขายจะขายไม่ได้ราคาและถ้าขายโดยขาดการชี้แจ้งจะทำให้ลูกค้าขาด ความเชื่อถือ
     2.5 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสินค้าที่มีข้อบกพร่อง ถ้าส่งมอบให้ลูกค้าจะส่งผลให้
                 - ลูกค้าไม่พอใจสินค้า อาจขอเปลี่ยนหรือแจ้งให้ทำการแก้ไข สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย
และต้นทุนทั้งสิ้น
                 - ลูกค้าขาดความเชื่อถือและอาจเป็นสาเหตุทำให้เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่น
               3. คู่แข่ง ( Compotitor ) นโยบายของรัฐที่เปิดให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ทำให้ไม่อาจปิดกั้นการมีคู่แข่งได้คู่แข่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นแต่ยังได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนเองอีกด้วย ดังนั้นสภาพการแข่งขันจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ลูกค้าจะยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีและพอใจโดยไม่จำเป็นจะต้องราคาถูก
ข้อสังเกตุ
                 - สินค้าที่ราคาเท่ากัน ลูกค้าจะเลือกสิ่งที่สนองตอบความต้องการได้มากกว่า
                 - สินค้าที่ราคาต่างกัน ถ้าลูกค้าเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณภาพดีกว่า ลูกค้าจะไม่รู้สึกว่าสินค้าที่ราคาสูงนั้น แพงกว่า
               4. วิกฤตการณ์ (Crisis) การสร้างองค์การที่คุณภาพ จะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน จากนั้นจึงจัดลำดับสายงานความรับผิดชอบ จนถึงผู้ปฎิบัติงานระดับล่างเพื่อสร้างวัฒนธรรมทางคุณภาพให้เกิดทั่วทั้งองค์การ องค์การที่มีคุณภาพ จะมีระบบบริหารงานที่มีการป้องกันมากกว่าการแก้ไข องค์การจึงสามารถปรับสถานการณ์หรือจัดการกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้ เนื่องจากมีการป้องกันและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


สืบค้นวันที่ 22 พฤษจิกายน 2560
ขอบคุณ http://toorsicc.blogspot.com/p/26.html

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คุณภาพในองค์กร png

คุณภาพในองค์กร

         ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ การวาแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม

หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร

          หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย

1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า

     1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวังที่
ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
     1.2 ตรวจาสอบความต้องการของลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ 
     1.3 ประเมนผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้อง
ปรับปรุงในเรื่องอะไร 
     1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูล
ความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
     1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)

          ผู้นำขององค์กรใช้หลักการบริหารอย่างเป็นผู้นำ เพื่อนำทางให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรไปสู้เป้าหมายคุณภาพ ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ได้แก่
     1. กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
     2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้าหมาย
     3. สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
     4. สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
     5. สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
     6. สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
     7. สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
     8. สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)

          สมาชิกทุกคนขององค์กรมีความสำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้โดย
เปิดโอกาสให้พนักงานร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ หรือร่วมปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
     3.1 องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
     3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
     3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
     3.4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
     3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร 
     3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
     3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน

4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)

          กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวานการดำเนินการ และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ไ ด้แก่
     4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
     4.2 กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบาคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
     4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า

5. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)

          การมององค์กรจากโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ แต่การบริหารงานอย่างเป็นระบบ คือความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันให้ระบบความทสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากพอจะสร้างผลงานคุณภาพขององค์กร การบริหาร ให้ระบบความสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพทำได้โดย
     5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
     5.2
 สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
     5.3
 กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
     5.4
 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
     5.5
 การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร

6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)

          การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรฐาน่ให้เกิดขึ้น โดยการปฏิบัติดังนี้
     6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
     6.2 สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
     6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
     6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
     6.5 กระประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักร์ในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

7. ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ

          การตัดสินใจใดๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีระบบการจัดเก็บที่เชื่อถือได้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และถ้าผ่านกระบวนการวิเคราห์มาแล้วอย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้ การตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ การใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ ทำได้โดย
     7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
     7.2
 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
     7.3
 มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
     7.4
 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
     7.5
 การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย


สืบค้นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

ขอบคุณ https://www.gotoknow.org/posts/381912

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560


การจัดองค์การ

ความหมายของการจัดองค์การ

มีผู้ให้คำนิยาม คำว่า " การจัดองค์การ " ไว้หลายท่าน ดังนี้ 
Edwin B.Flippo ( 1970 : 129 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ คือ ตัวบุคคลและหน้าที่การงาน เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ 

ธงชัย สันติวงษ์ ( 2537 : 63 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูป และการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้ การจัดองค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่างทราบว่า ใครต้องทำอะไร และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง

สมคิด บางโม ( 2538 : 94 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดแบ่งองค์การออกเป็นหน่วยงานย่อยๆให้ครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ขององค์การ พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์กับองค์กรย่อยอื่นๆไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 
Organizing หมายถึง การจัดระเบียบงาน จัดโครงสร้างการบริหารงาน การประสานงานระหว่างบัคคลและหน่วยงานต่างๆอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา กับความรับผิดชอบของงาน ให้รู้ว่า
     - ใคร ทำงานอะไร (What)
     - ใคร รายงานต่อใคร (Who)

ประกอบด้วย
    การแบ่งงาน
     - การมอบหมายงาน
     - การจัดสรรทรัพยากร
     - การประสานงาน
วัตถุประสงค์ของการจัดองค์การ
1. เพื่อแบ่งงานกันทำ โดยแยกงานออกเป็นแต่ละงานส่วน แต่ละแผนก แต่ละหน่วย เป็นกลุ่มตามลักษณะงานเช่น
2. เพื่อมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้แต่ละคนทำตามความรู้ ความถนัด
3. เพื่อกำหนดการประสานงานต่างๆให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจนงานเสร็จ
4. เพื่อกำหนดสายการบังคับบัญชา อำนาจ หน้าที่อย่างเป็นทางการ
           5. เพื่อจัดสรร และใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นฐานของการจัดองค์การ
          การรวมกัน (Integration) ของความแตกต่างกัน (Differentiation) เข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องกัน เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดตามวัถตุประสงค์ขององค์การ
(ความแตกต่างในที่นี้หมายถึง ทักษะ วิธีทำงาน แนวคิด เป้าหมาย ระยะเวลา โครงสร้างองค์การ ค่านิยม)
โครงสร้างองค์การ (Organization Structure) เป็นระบบการติดต่อสื่อสารและอำนาจในการบังคับบัญชา
โครงสร้างองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization ) จะแสดงให้เห็นว่าใครบังคับบัญชาใครใครต้องรายงานใคร
โครงสร้างองค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal Organization)  เครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่ปรากฏในผังการจัดองค์การ
ผังองค์การ (Organization Chart)
การแบ่งงาน
สายการบังคับบัญชา
           - การติดต่อสื่อสาร
           - ตำแหน่งงานที่สำคัญ
           - ระดับของการบริหาร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดองค์การ

การจัดแผนกงานตามหน้าที่ (Departmentalization by function)

          เป็นการจัดรวมกลุ่มงานที่มีลักษณะหน้าที่เหมือนกันไว้เป็นหน่วยเดียวกัน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนิยมมากในบริษัทที่ผลิตสินค้าประเภทเดียว หรือน้อยประเภท

การจัดแผนกงานตามผลิตภัณฑ์ (Departmentalization by products)

         การจัดรวมงานให้เป็นกลุ่มโดยใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น แผนกเครื่องซักผ้า แผนกเครื่องเสียง แผนกคอมพิวเตอร์ แผนกทีวี แผนกเครื่องปรับอากาศเหมาะสำหรับบริษัทที่ผลิตสินค้าหลายชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณการผลิตค่อนข้างสูงคล้ายมีหลายบริษัท มีหลายแผนกในตัว การแบ่งงานมีส่วนพัฒนาผู้บริหาร
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การจัดแผนกงานตามพื้นที่ (Departmentalization by territory)

          เหมาะ สำหรับองค์การที่มีกิจการกระจายไปในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลาง แต่อาจเกิดการซ้ำซ้อนในการใช้ทรัพยากร

การแบ่งแผนกงาน (Departmenttation)

   เป็นการจัดแบ่งโครงสร้างตามกระบวนการ : แบ่งตามสายงานการผลิต หรือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้

การจัดแผนกงานตามลูกค้า (Departmentalization by customer)

          การแบ่งตามความสนใจและความต้องการของลูกค้า เช่น ลูกค้าจ่ายสด ลูกค้าเครดิต ลูกค้าราชการ ลูกค้าองค์การ สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ดีขึ้น
ผจก.แต่ ละแผนกมักเรียกร้องเงื่อนไขพิเศษ เช่นค่าคอมมิทชั่น หรือเปอร์เซ็นต์ในการขาย เพื่อให้แผนกของตนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ทำให้แนวปฎิบัติเป็นไปอย่างไม่เสมอภาค

การจัดแผนกงานตามโครงการ (Departmentalization by project)

          ใช้กับงานที่ค่อนข้างจะอิสระ มีช่วงเวลาจำกัดและมีเป้าหมายที่ชัดเจนเช่น โครงการที่ดินจัดสรร โครงการบ้านพักอาศัย โครงการอาคารพาณิชย์การมีผู้รับผิดชอบโดยตรงแต่ละโครงการทำให้ปัญหาต่างๆได้รับความสนใจ และแก้ไขได้ทันเวลาจัดแบ่งแผนกงานตามเวลา : มีเฉพาะในระดับล่างขององค์การทำงานสองหรือสามกะ หัวหน้าและพนักงานแต่ละชุดสำหรับงานแต่ละกะจัดแบ่งแผนกงานตามจำนวนคน : มักจะมีอยู่ในระดับล่างขององค์การ ใช้กับงานที่ต้องอาศัยแรงหรือกำลังของคนงานเป็นหลัก หัวหน้างานจะพิจารณาว่างานใดต้องใช้คนงานเท่าใด เช่นขุดลอกคลอง สายละ 20 คน หน.1คน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดองค์การ

องค์การโดยการจัดโครงสร้างแผนก

1.การจัดโครงสร้างแผนก โดยยึดตามลักษระโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ บริการหรือตลาดที่คล้ายกัน
          2.การจัดโครงสร้างแผนก โดยยึดตามลักษระงานที่คล้ายคลึงกัน jop process
          3.การจัดโครงสร้างแผนก โดยยึดตามลักษณะของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่าง

          ระดับการจัดองค์การ และขนาดการจัดการ จุดประสงค์ของการจัดองค์การ คือเพื่อให้ผู้บริหารต้องการให้พนักงานในระดับต่างๆได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิธิภาพ การทำงานก็จะไม่เกิดความขัดแย้งและไม่มีอุสรรคในการทำงานการเลือกขนาดในองค์การทุกองค์การ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจะต้องศึกษาพิจารณาถึงโครงสร้างขององค์การของตนเอง ว่ามีความซับซ้อนเพียงใด หรือมีสายบังคับบัญชากี่ระดับชั้นการจัดองค์การที่ดีและเหมาะสม จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆทำให้งานไม่ซับซ้อน ไม่มีแผนงานมากเกินไป เป็นการประหยัดต้นทุนไปด้วยองค์การสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ง่ายตามความจำเป็นการแบ่งงานให้พนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยให้พนักงานมีความพอใจ ไม่เกิดความรู้สึกว่างานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป เมื่อพนักงานรู้อำนาจหน้าที่ และขอบเขตงานของตนย่อมก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการทำงานเข้าใจความสัมพันธ์ของตนต่อฝ่ายอื่นๆ ทำให้เราสามารถติดต่อกันได้ดียิ่งขึ้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)

          หมายถึง สายการสั่งการ และรายงานผลการปฏิบัติงานตามลำดับภายในองค์การตั้งแต่ระดับบนสุดจนถึงล่างสุดขอบเขต หรือขนาดการควบคุม (Span of Control)
หมายถึง จำนวนของผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้บริหารหนึ่งคน
ผ่านบุคคลหลายระดับจำเป็นต้องสูงนักเนื่องจากต้องผ่านหลายระดับ ถ้าช่วงการบังคับบัญชาแคบมากๆ ทำให้ระดับการบริหารมีมากระดับ จำนวนผู้บริหารมาก รายจ่ายมาก
สรุปได้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

สืบค้นวันที่ 8 พศจิกายน 2560

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

องค์การและการจัดองค์การ

ความหมาย

      องค์การคือหน่วยสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคลโดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกันมีการจัดการอย่างเป็นระบบร่วมกันทำากิจกรรมต่างๆเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 

ลักษณะองค์การ

        นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่าง ๆ กันในหลายลักษณะสรุปได้ดังนี้
1. องค์การเป็นโครางสร้างของความสัมพันธ์ (Organization as a Structure of Relationship) แนวคิดนี้มององค์กรในลักษณะหน่วยงานย่อยต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กัน มีการก าหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานย่อย
2. องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) แนวคิดนี้มององค์การว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกันบุคคลจะแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่นๆเสมอทำงานร่วมกับบุคคลอื่นก็เพื่อสนองความต้องการของตน
3. องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management) แนวคิดนี้มององค์การเป็น หน้าที่ส าคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องทำการจัดการเพื่อปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การมาใช้ คือ คน เงิน วัสดุและอุปกรณ์ ต่าง ๆ
4. องค์การเป็นกระบวนการ (Organization as a Process) แนวคิดนี้มององค์การเป็นกระบวนการจัดกลุ่มงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมารวมกันไว้มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและร่วมมือกันทำงาน
5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) แนว คิดนี้มององค์การเป็นระบบเปิดประกอบด้วยระบบย่อยๆโดยมีปัจจัยนำเข้า(input) กระบวนการ(process) ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feed-back) และสิ่งแวดล้อม (environment)

องค์ประกอบขององค์การ มีดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดองค์การ

1. กลุ่มบุคคล 2. มีเป้าหมายร่วมกัน 3. การกำหนดหน้าที่ 4. การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน
โครงสร้างองค์การ (Organization Structure)  หมายถึง ระบบการติดต่อสื่อสารและอำนาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อคนและกลุ่มคนเข้าด้วยกันเพื่อทงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
     1. วัตถุประสงค์ (Objective)
     2. ภาระหน้าที่ (Function)
     3. การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
     4. การบังคับบัญชา (Hierarchy)
     5. ช่วงของการควบคุม (Span of Control)
     6. เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity of Command)

รูปแบบองค์การ

รูปแบบที่เป็นทางการ เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มอย่างมีระบบแบบแผนชัดเจนครอบคลุมทุกส่วนของการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มอย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฎเกณฑ์ไม่ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน

 ประเภทขององค์การ

1.  แบ่งตามความมุ่งหมายขององค์การ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1.1 องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาขิก (Mutual-Benefits)
1.2 องค์การธุรกิจ (Business Concerns)
1.3 องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal Organization)
1.4 องค์การเพื่อบริการ (Service Organization)
2. แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ (Formal Organization) เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในกลุ่มองค์กร แบบเป็น ทางการหรืออาจเกิดขึ้นในสังคมใดก็ได้
 3.  แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ แบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 องค์การรัฐกิจ
3.2 องค์การธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ

การจัดโครงสร้างขององค์การ

     1. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก (Line Organization Structure)
     2. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา (Line and Staff Organization Structure) 
     3. โครงสร้างองค์การแบบหน้าที่การวางเฉพาะ (Function of Organization Structure)
     4. โครงสร้างขององค์การแบบคณะกรรมการ (Committee Organization Structure)
     5. โครงสร้างองค์การแบบโครงการ (Project Organization Structure)
     6. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization Structure)

แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่

     1. สายการบังคับบัญชาสั้นลง (Shorter Chan of Command)
     2. ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น (Wider Span of Control)
     3. ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง (Less Unity of Command)
     4. การมอบหมายงานและการให้คนมีอ านาจมากขึ้น (More delegation and empowerment)
     5. การกระจายอำนาจอย่างรวมอำนาจ (Decentralization with Centralization
     6. โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ (Smallness with Bigness)
     7. ลดจำนวนที่ปรึกษาให้เหลือน้อยลง (Reduce Staff Component)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

หลักการจัดองค์การ

การจัดองค์การหมายถึง กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างงาน ประเภทต่างๆ สายงานการบังคับบัญชา อย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบ และ ทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การด าเนินได้อย่างชัดเจน มีระเบียบและมีแบบแผน หลักการจัดองค์การโดยทั่วไปประกอบด้วย
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
1. หลักวัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม 
2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว 
3. หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ 
4. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง 
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี 
6. หลักความสมดุล (Balance) จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย 
7. หลักความต่อเนื่อง (Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่ 
8.  หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ 
9. หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน 
10.  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss" 
11.  หลักตามลำดับขั้น (Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ 
12. หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย


สืบค้นวันที่ 8 พ.ย. 2560



การจัดการงานอาชีพ การจัดการ หมายถึง ( Management ) อะไร ? “ การจัดการ” เป็นคำที่นิยมใช้เกี่ยวกับการทำธุรกิจซึ่งต่างจากคำว่า “การ...