การพัฒนางานในองค์กร
ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จได้ต้องรวมถึง
การพัฒนาองค์การ (OD) ด้วย โดยนิยามการพัฒนาองค์การ หมายถึง
การทำแผนเพื่อใช้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การให้เกิดความ มีประสิทธิผล
และให้ความสำคัญด้านความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น (More effective and more
human) จะเห็นว่ากระบวนทัศน์ของการพัฒนาองค์การ (OD
paradigm) คือการให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของมนุษย์และความก้าวหน้า
ขององค์การควบคู่กันไป เน้นความร่วมมือและกระบวนการมีส่วนร่วม
ตลอดจนการมีจิตวิญญาณของการแสวงหา (Spirit of inquiry) กล่าวโดยสรุป
ค่านิยมที่ถือเป็นสาระสำคัญเชิงปรัชญาของการพัฒนาองค์การได้แก่
1.
ให้การนับถือต่อคน
(Respect for people) โดยเชื่อว่า มนุษย์มีความรับผิดชอบมีสติปัญญาและต้องการให้
การใส่ใจและควรได้รับ การปฏิบัติ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
2.
ไว้วางใจและช่วยเหลือเจือจุน
(Trust and support) กล่าวคือ องค์การที่ถือว่ามีสุขภาพดีและมีประสิทธิผล
ต้องมีลักษณะของความไว้วางใจ มีความน่าเชื่อถือ มีบรรยากาศที่เปิดเผย
และให้การเกื้อกูลต่อกัน
3.
มีความเสมอภาคด้านอำนาจ
(Power equalization) ในองค์การที่มีประสิทธิผลจะไม่เน้นการใช้อำนาจและการควบคุมตามสายการบังคับบัญชา
เป็นประเด็นสำคัญ
4.
กล้าเผชิญปัญหา
(Confrontation) โดยไม่เลี่ยง ไม่ประวิงเวลาหรือหนีปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่จะใช้วิธีเผชิญปัญหาอย่างเปิดเผย
5.
การมีส่วนร่วม
(Participation) โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจะได้รับโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
เพราะการได้มีส่วนร่วมยิ่งทำให้ต้องผูกพันต่อการนำข้อยุติลงสู่การปฏิบัติ

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาองค์การ
เนื่องจากการพัฒนาองค์การ
เป็นแผนรวมที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรแต่ละคนขององค์การ
พร้อมกับ ปรับปรุงให้การดำเนินงาน ตามภารกิจขององค์การมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ดังนั้นกิจกรรมของ
OD ก็คือ
แสวงหาทางที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์การ
โดยการปรับปรุงคุณภาพของสภาวะแวดล้อมในที่ทำงานตลอดจนเจตคติและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานแผนพัฒนาองค์การจึงประกอบด้วยเทคนิคต่าง
ๆ หลายอย่าง (บางครั้งเรียกว่า กิจกรรมสอดแทรก หรือ OD interventions) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การทั้งในระดับบุคคล
กลุ่มบุคคล และองค์การโดยรวม
ในที่นี้จะเลือกนำเสนอเฉพาะเทคนิคการพัฒนาองค์การที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย 6 เทคนิค ได้แก่
·
การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (survey
feedback)
·
การฝึกอบรมเพื่อฝึกการรับรู้ (Sensitivity
training)
·
การสร้างทีมงาน (Team
building)
·
โปรแกรมสร้างคุณภาพในชีวิตงาน (Quality
of work life programs)
·
การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management
by objectives)
·
การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
1. เทคนิคการสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (Survey feedback)
เป็นวิธีการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยการรับรู้ข้อมูลร่วมกัน
โดยมีฐานความเชื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
พนักงานต้องรับรู้และ เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในปัจจุบันของหน่วยงานตน
ซึ่งเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญของการใช้เทคนิคการสำรวจข้อมูลย้อนกลับนี้
เทคนิคนี้ประกอบด้วย 3 ขึ้นตอนสำคัญ
ขั้นแรก เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหลายที่เป็นข้อวิตกกังวนของพนักงาน เช่น บรรยากาศขององค์การ
แบบภาวะผู้นำ และสภาพความพึงพอใจต่องาน เป็นต้น
โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือให้ตอบแบบสอบถามหรือทั้งสองอย่างก็ได้
ข้อมูลที่ได้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติลำเอียงและต้องเก็บเป็นความลับ
ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้ที่ปรึกษาภายนอกดำเนินการ
ขั้นที่สอง เป็นการเขียนรายงานข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากพนักงานระหว่างการประชุมกลุ่มย่อย
เช่น สรุปคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติของพนักงานที่วัดได้
เค้าโครงแสดงที่มาของความรู้สึกที่พนักงานมีต่อองค์การ
หรือต่อผู้นำหรือต่องานที่ทำอภิปรายเพื่อหาประเด็นหลัก และการบ่งชี้ของข้อมูล
ให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร
ขั้นที่สุดท้าย เป็นการวิเคราะห์ปัญหาในแง่ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
การตัดสินใจและกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อนำมาจัดทำแผนในแต่ละเรื่อง
การอภิปรายจะได้ผลดีถ้าได้มีการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีมีผู้นำจัดทำแผนที่มีความสามารถข้อดีของเทคนิคการสำรวจข้อมูลป้อนกลับก็คือ
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ได้ข้อมูลมากตามที่ต้องการ
ทั้งยังยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการขององค์การต่าง ๆ
ซึ่งมีปัญหาไม่เหมือนกันได้ดี
แต่มีจุดอ่อนที่เกี่ยวกับความแม่นยำเที่ยงตรงของเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้และต้องได้รับความสนับสนุนจริงจังของฝ่ายบริหารจึงจะได้ผลดี
2. เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อฝึกการรับรู้ (Sensitivity Training หรือ T-groups)
โดยใช้กลุ่มเล็กประมาณ 8-15 คน
มาเล่าประสบการณ์หรือเรื่องเกี่ยวกับตนให้คนอื่นฟังและร่วมแสดงความเห็นแง่มุมต่าง
ๆ ของเรื่องนั้น เพื่อให้ผู้นั้นมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่งจนสามารถเข้าใจตนเอง
เทคนิคนี้มีหลักการและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังก็คือ
ปกติคนเราจะไม่ยอมเปิดเผยความจริง
เกี่ยวกับตัวเองและมีความซื่อตรงต่อคนอื่นอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น เทคนิค T-group
นี้จึงมีเงื่อนไขกติกาของกลุ่มที่ทุกคนต้องพูดจาสื่อสารต่อกันอย่างเปิดเผย
และซื่อตรงต่อกัน โดยไม่มีความกดดันจากภายนอก
ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงมักจัดนอกสถานที่ซึ่งไกลจากที่ทำงานได้หลายวัน
โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก
ประจำกลุ่มคอยให้คำแนะนำและรักษาบรรยากาศที่ดีของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
ภายหลังจากกลุ่มมีความไว้วางใจต่อกัน
และช่วยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อปัญหาซึ่งกันและกันทีละคน
ก็จะทำให้เจ้าของปัญหามองเห็นและเข้าใจตนเองดียิ่งขึ้น โดยทำหมุนเวียนจนครบทุกคน
สมาชิกนอกจากเข้าใจตนเองแล้วยังเข้าใจถึงความรู้สึกของสมาชิกคนอื่นและเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
อย่างไรก็ตาม การวัดความสำเร็จของเทคนิค T-group ที่นำมาใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาองค์การนั้น มองเห็นได้ยาก แม้จะเกิดผลดีระหว่างทำกิจกรรมกลุ่ม ดังกล่าว แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่า สามารถถ่ายโอนมาสู่บรรยากาศการทำงานจริงขององค์การได้มากน้อยเพียงไร ดังนั้น เทคนิค T-group มักใช้ร่วมกับ เทคนิคอื่น ๆ ในการพัฒนาองค์การ
อย่างไรก็ตาม การวัดความสำเร็จของเทคนิค T-group ที่นำมาใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาองค์การนั้น มองเห็นได้ยาก แม้จะเกิดผลดีระหว่างทำกิจกรรมกลุ่ม ดังกล่าว แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่า สามารถถ่ายโอนมาสู่บรรยากาศการทำงานจริงขององค์การได้มากน้อยเพียงไร ดังนั้น เทคนิค T-group มักใช้ร่วมกับ เทคนิคอื่น ๆ ในการพัฒนาองค์การ
อย่างไรก็ดี
แนวคิดในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีคุณลักษณะทั้ง 5 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วยังเป็นรูปแบบเชิงอุดมคติ เนื่องจากยังไม่พบ
องค์การใด ที่มีคุณลักษณะที่ครบถ้วน
แต่องค์การแห่งการเรียนรู้ก็ได้บรรจุแนวคิดต่าง ๆ ด้านพฤติกรรมองค์การ อาทิเช่น TQM
วัฒนธรรมองค์การ องค์การที่ไร้พรมแดน ความขัดแย้งเกี่ยวกับงาน
และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ เป็นต้น กล่าวคือองค์การแห่งการเรียนรู้รับแนวคิดของ TQM
ในประเด็นที่เน้นการยึดมั่นต่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
องค์การแห่งการเรียนรู้มีวัฒนธรรมองค์การที่เน้นเรื่อง ความกล้าเสี่ยง
ความเปิดเผยโปร่งใส และความเจริญงอกงาม
สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2560
ขอบคุณ https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/organization-development.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น